- หลักการกำกับดูแลกิจการ
- แนวปฏิบัติเกี่ยวกับนโยบายการใช้ข้อมูลภายใน
- แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการอนุมัติรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์
- แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรายงานเหตุการณ์ทุจริตหรือการปฏิบัติที่ฝ่าฝืนกฎหมาย
- แนวปฏิบัติเกี่ยวกับกลไกในการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนของผู้มีส่วนได้เสีย
- การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
- เลขานุการบริษัทฯ
- กฎบัตรคณะกรรมการชุดย่อย
คู่มือการกำกับดูแลกิจการที่ดี 2566
ผลการประเมินในโครงการสํารวจการกํากับดูแลกิจการบริษัทจดทะเบียน
- ประจำปี 2567
- ประจำปี 2566
- ประจำปี 2565
- ประจำปี 2564
- ประจำปี 2563
- ประจำปี 2562
- ประจำปี 2561
- ประจำปี 2560
สำหรับคู่มือหลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัทฯ ฉบับสมบูรณ์ โปรดดาวน์โหลดจากลิงก์ที่ด้านบนของหน้านี้
นโยบายพื้นฐานของการกำกับดูแลกิจการที่ดี
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี (GOOD CORPORATE GOVERNANCE) โดยยึดหลักความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต (FAIRNESS AND INTEGRITY) มีความรับผิดชอบต่อผลงาน (ACCOUNTABILITY) ตระหนักในหน้าที่ (RESPONSIBILITY) มีการดำเนินงานที่โปร่งใส (TRANSPARENCY) ส่งเสริมให้มีการปฏิบัติที่เป็นธรรมอย่างเสมอภาคและเป็นที่เชื่อถือของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง (STAKEHOLDERS) มุ่งมั่นที่จะสร้างคุณค่าให้แก่กิจการและผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันในระยะยาวเพื่อให้บริษัทฯ มีการเจริญเติบโตที่มั่นคงและยั่งยืนในอนาคต
นโยบายว่าด้วยความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม
บริษัทฯ ประกอบธุรกิจด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม ยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณทางธุรกิจรวมทั้งปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
นโยบายว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ คณะกรรมการจึงได้กำหนดนโยบายว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นเพื่อปลูกจิตสำนึกให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯทุกระดับตระหนักถึงพิษภัยของการทุจริตคอร์รัปชั่น สร้างค่านิยมที่ถูกต้อง และเพิ่มความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืนในระยะยาว
นโยบายว่าด้วยการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
คณะกรรมการได้กำหนดนโยบายว่าด้วยการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนของผู้มีส่วนได้เสียตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อให้มีกลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน คุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อเรียกร้อง ดำเนินการหลังจากมีผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อเรียกร้อง และมีมาตรการแก้ไขและชดเชยค่าเสียหาย
นโยบายว่าด้วยการรับหรือการให้ของขวัญ ทรัพย์สิน และหรือผลประโยชน์อย่างอื่น
คณะกรรมการต้องการปลูกจิตสำนึกให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ทุกคนทุกระดับตระหนักถึงการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นและสร้างค่านิยมที่ถูกต้องด้วยการไม่รับ ไม่ให้และไม่สนับสนุนการกระทำใดๆ ที่ส่อไปในทางมิชอบหรือแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานและหรือชื่อเสียงของบริษัทฯ ในทางลบหรือในทางเสียหาย
นโยบายว่าด้วยการใช้แรงงานและสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการใช้แรงงานด้วยความสมัครใจและให้ความเป็นธรรมกับพนักงานทุกคนทุกระดับรวมทั้งปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนโดยเคร่งครัด
นโยบายว่าด้วยความเป็นกลางทางการเมือง
บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับความเป็นกลางทางการเมืองและสนับสนุนปกครองในระบอบประชาธิปไตย โดยส่งเสริมให้พนักงานทุกระดับสามารถใช้สิทธิทางการเมืองของตนตามครรลองของกฎหมายในฐานะพลเมืองดี
บริษัทฯ ได้กำหนดมาตรการและแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันการใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯที่ยังไม่ได้เปิดเผยต่อสาธารณชนไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนและบุคคลอื่น ดังนี้
(1) บริษัทฯ ได้แจ้งให้กรรมการ และผู้บริหารทราบถึงภาระหน้าที่ในการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ในบริษัทฯ ของตนเอง คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและบุคคลที่ถือหลักทรัพย์แทนตลอดจนรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และแจ้งให้ทราบถึงบทลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ผู้บริหาร” หมายถึง ผู้บริหารตามบทนิยามท้ายคู่มือนี้และให้หมายความรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(2) ห้ามไม่ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้จัดการและพนักงานที่ได้รับทราบข้อมูลภายในของบริษัทฯ เปิดเผยข้อมูลภายในดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและห้ามไม่ให้ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วง หนึ่งเดือนก่อนงบการเงินของบริษัทฯ จะเผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้จัดการและพนักงานใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ที่ยังไม่ได้เปิดเผยสาธารณชนอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนและ/หรือเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ หากฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ จะดำเนินการตามกฎหมายและลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดอย่างเด็ดขาดตามเหตุและผลของเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นแต่ละรายแต่ละกรณีๆ ไป
(4) ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่าย หรือพนักงานของบริษัทฯกระทำผิดอันเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทฯ จะดำเนินการลงโทษอย่างรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันดังนี้
(ก) ตัดเงินเดือนหรือค่าตอบแทน
(ข) ให้ออก ไล่ออก หรือปลดออกจากการเป็นผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายหรือพนักงานโดยถือว่าจงใจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ หากเป็นกรรมการ ให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ
(ค) แจ้งการกระทำความผิดต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ง) แจ้งความดำเนินคดีต่อตำรวจหรือพนักงานสอบสวน
(จ) ดำเนินการอื่นใดตามมติของคณะกรรมการบริษัทฯ หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ
(5) บริษัทฯ คาดหมายให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนทุกระดับของบริษัทฯ รายงานโดยสุจริตถึงการปฏิบัติที่ขัดหรือสงสัยจะขัดกับหลักการนำข้อมูลภายในของบริษัทฯไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ต่อผู้บังคับบัญชา โดยให้ถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาในการสอดส่องดูแลและให้คำแนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาในการนำข้อมูลภายในของบริษัทฯ ไปใช้ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามหลักการที่กำหนดอย่างถูกต้อง
(1) บริษัทฯ ได้แจ้งให้กรรมการ และผู้บริหารทราบถึงภาระหน้าที่ในการรายงานการถือครองหลักทรัพย์ในบริษัทฯ ของตนเอง คู่สมรส บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะและบุคคลที่ถือหลักทรัพย์แทนตลอดจนรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือครองหลักทรัพย์ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. และแจ้งให้ทราบถึงบทลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
“ผู้บริหาร” หมายถึง ผู้บริหารตามบทนิยามท้ายคู่มือนี้และให้หมายความรวมถึงผู้ดำรงตำแหน่งระดับบริหารในสายงานบัญชีหรือการเงินที่เป็นระดับผู้จัดการฝ่ายขึ้นไปหรือเทียบเท่า
(2) ห้ามไม่ให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้จัดการและพนักงานที่ได้รับทราบข้อมูลภายในของบริษัทฯ เปิดเผยข้อมูลภายในดังกล่าวแก่บุคคลภายนอกหรือบุคคลที่ไม่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและห้ามไม่ให้ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วง หนึ่งเดือนก่อนงบการเงินของบริษัทฯ จะเผยแพร่ต่อสาธารณชน
(3) ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร ผู้จัดการและพนักงานใช้ข้อมูลภายในของบริษัทฯ ที่ยังไม่ได้เปิดเผยสาธารณชนอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ไปใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนและ/หรือเพื่อการซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ หากฝ่าฝืนข้อกำหนดดังกล่าวข้างต้น บริษัทฯ จะดำเนินการตามกฎหมายและลงโทษแก่ผู้กระทำความผิดอย่างเด็ดขาดตามเหตุและผลของเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นแต่ละรายแต่ละกรณีๆ ไป
(4) ในกรณีที่กรรมการ ผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่าย หรือพนักงานของบริษัทฯกระทำผิดอันเป็นความผิดอาญาตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บริษัทฯ จะดำเนินการลงโทษอย่างรุนแรงอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกันดังนี้
(ก) ตัดเงินเดือนหรือค่าตอบแทน
(ข) ให้ออก ไล่ออก หรือปลดออกจากการเป็นผู้บริหาร ผู้จัดการฝ่ายหรือพนักงานโดยถือว่าจงใจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ หากเป็นกรรมการ ให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ
(ค) แจ้งการกระทำความผิดต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(ง) แจ้งความดำเนินคดีต่อตำรวจหรือพนักงานสอบสวน
(จ) ดำเนินการอื่นใดตามมติของคณะกรรมการบริษัทฯ หรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ
(5) บริษัทฯ คาดหมายให้ กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนทุกระดับของบริษัทฯ รายงานโดยสุจริตถึงการปฏิบัติที่ขัดหรือสงสัยจะขัดกับหลักการนำข้อมูลภายในของบริษัทฯไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตน ต่อผู้บังคับบัญชา โดยให้ถือเป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาในการสอดส่องดูแลและให้คำแนะนำผู้ใต้บังคับบัญชาในการนำข้อมูลภายในของบริษัทฯ ไปใช้ เพื่อให้มีการปฏิบัติตามหลักการที่กำหนดอย่างถูกต้อง
บริษัทฯได้กำหนดมาตรการและขั้นตอนการอนุมัติรายการที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อันได้แก่รายการ เกี่ยวโยงกันและรายการเกี่ยวกับการได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งสินทรัพย์ของบริษัทฯ หรือบริษัทย่อยเพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ ก.ล.ต. และ ต.ล.ท. รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
(1) ห้ามกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับกิจการของบริษัทฯ หรือเป็นธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัทฯ และหลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันอันอาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ
(2) บุคคลที่มีส่วนได้เสียหรือที่อาจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์จะไม่สามารถอนุมัติรายการที่เกี่ยวข้องกับตนได้
(3) การกำหนดราคาหรือค่าตอบแทนจะต้องเป็นไปตามปกติทางธุรกิจและเงื่อนไขทางการค้าทั่วไปโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทฯ เป็นสำคัญ
(4) คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาให้ความเห็นก่อนทำรายการดังกล่าว ถ้าคณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการให้ความเห็นในเรื่องใดหรือรายการใด บริษัทฯ จะต้องจัดให้ผู้เชี่ยวชาญอิสระเป็นผู้ให้ความเห็นต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อประกอบการพิจารณากลั่นกรองก่อนจะนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯและหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ
(5) ในกรณี รายการดังกล่าวเป็นข้อตกลงทางการค้าในลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระทำกับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยอำนาจต่อรองทางการค้าที่ปราศจากอิทธิพลในการที่ตนมีสถานะเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี หรือรายการธุรกิจปกติหรือรายการสนับสนุนธุรกิจปกติที่มีเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป บริษัทฯ จะต้องนำข้อตกลงดังกล่าวไปขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ หรือขออนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการบริษัทฯ ก่อนทำรายการนั้น ทั้งนี้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(6) บริษัทฯจะต้องเปิดเผยการทำรายการดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ล.ต. และ ต.ล.ท. กำหนดรวมทั้งเปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ด้วย
(1) ห้ามกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ประกอบธุรกิจที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับกิจการของบริษัทฯ หรือเป็นธุรกิจที่แข่งขันกับบริษัทฯ และหลีกเลี่ยงการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันอันอาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ
(2) บุคคลที่มีส่วนได้เสียหรือที่อาจจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์จะไม่สามารถอนุมัติรายการที่เกี่ยวข้องกับตนได้
(3) การกำหนดราคาหรือค่าตอบแทนจะต้องเป็นไปตามปกติทางธุรกิจและเงื่อนไขทางการค้าทั่วไปโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทฯ เป็นสำคัญ
(4) คณะกรรมการตรวจสอบพิจารณาให้ความเห็นก่อนทำรายการดังกล่าว ถ้าคณะกรรมการตรวจสอบไม่มีความชำนาญในการให้ความเห็นในเรื่องใดหรือรายการใด บริษัทฯ จะต้องจัดให้ผู้เชี่ยวชาญอิสระเป็นผู้ให้ความเห็นต่อคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อประกอบการพิจารณากลั่นกรองก่อนจะนำเสนอคณะกรรมการบริษัทฯและหรือที่ประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อพิจารณาอนุมัติ
(5) ในกรณี รายการดังกล่าวเป็นข้อตกลงทางการค้าในลักษณะเดียวกับที่วิญญูชนจะพึงกระทำกับคู่สัญญาทั่วไปในสถานการณ์เดียวกัน ด้วยอำนาจต่อรองทางการค้าที่ปราศจากอิทธิพลในการที่ตนมีสถานะเป็นกรรมการ ผู้บริหาร หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง แล้วแต่กรณี หรือรายการธุรกิจปกติหรือรายการสนับสนุนธุรกิจปกติที่มีเงื่อนไขการค้าโดยทั่วไป บริษัทฯ จะต้องนำข้อตกลงดังกล่าวไปขออนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ หรือขออนุมัติในหลักการจากคณะกรรมการบริษัทฯ ก่อนทำรายการนั้น ทั้งนี้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
(6) บริษัทฯจะต้องเปิดเผยการทำรายการดังกล่าวตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ล.ต. และ ต.ล.ท. กำหนดรวมทั้งเปิดเผยไว้ในแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (แบบ 56-1) และรายงานประจำปี (แบบ 56-2) ด้วย
บริษัทฯ กำหนดมาตรการและขั้นตอนให้ผู้บริหารบริษัทฯ ต้องรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทฯ และคณะกรรมการตรวจสอบ ทันทีในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ทุจริตหรือสงสัยว่ามีเหตุการณ์ทุจริตหรือมีการปฏิบัติที่ฝ่าฝืนกฎหมาย หรือมีการกระทำที่ผิดปกติอื่นซึ่งอาจกระทบต่อชื่อเสียงและฐานะการเงินของบริษัทฯ อย่างมีนัยสำคัญ อันได้แก่
(1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(2) การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน
(3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ ก.ล.ต. และ ต.ล.ท. ตลอดจนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ จะได้รีบแก้ไขข้อบกพร่องหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยทันที รวมทั้งหามาตรการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก
(1) รายการที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์
(2) การทุจริตหรือมีสิ่งผิดปกติหรือมีความบกพร่องที่สำคัญในระบบควบคุมภายใน
(3) การฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ข้อกำหนดของ ก.ล.ต. และ ต.ล.ท. ตลอดจนกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ
ทั้งนี้ คณะกรรมการบริษัทฯ จะได้รีบแก้ไขข้อบกพร่องหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยทันที รวมทั้งหามาตรการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีก
บริษัทฯ ได้กำหนดมาตรการหรือช่องทางในการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนของผู้มีส่วนได้เสียไว้ ดังนี้
(1) การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
ผู้มีส่วนได้เสียคนใดมีความประสงค์จะติดต่อกับคณะกรรมการบริษัทฯ โดยตรง โดยไม่ผ่านผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อแสดงความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจรวมทั้งการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนต่างๆ เช่น การปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้องหรือมีข้อบกพร่อง การกระทำผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณ หรือการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นต้น โดยให้แจ้งเบาะแสหรือส่งข้อร้องเรียนไปยังคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง ดังต่อไปนี้
(2) การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อเรียกร้อง
ผู้มีส่วนได้เสียที่แจ้งเบาะแสหรือข้อเรียกร้องตามข้อ (1) ข้างต้นไม่ต้องเปิดเผยชื่อแต่อย่างใด
(3) การดำเนินการหลังจากมีผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อเรียกร้อง
ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการตรวจสอบข้อมูลหรือข้อเท็จจริงตามที่มีผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนตาม ข้อ (1) ข้างต้นแล้วนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบและพิจารณาโดยตรง
(4) มาตรการแก้ไขและชดเชยค่าเสียหาย
ในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิตามกฎหมาย บริษัทฯ ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อร้องเรียนโดยจะรีบแก้ไขข้อบกพร่องหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยทันที รวมทั้งหามาตรการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีกและจะพิจารณาชดเชยค่าเสียหายให้ผู้ถูกละเมิดอย่างเหมาะสมตามเหตุและผลของเรื่องเป็นแต่ละรายแต่ละกรณีๆ ไป
(1) การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
ผู้มีส่วนได้เสียคนใดมีความประสงค์จะติดต่อกับคณะกรรมการบริษัทฯ โดยตรง โดยไม่ผ่านผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อแสดงความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจรวมทั้งการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนต่างๆ เช่น การปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้องหรือมีข้อบกพร่อง การกระทำผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณ หรือการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นต้น โดยให้แจ้งเบาะแสหรือส่งข้อร้องเรียนไปยังคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง ดังต่อไปนี้
- ส่งทางไปรษณีย์มาที่
ประธานกรรมการตรวจสอบ
41/9 ถนนริมคลองบางสะแก แขวงบางค้อ
เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150 - ส่งทาง E-Mail Address : wanna@lannar.com
(2) การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อเรียกร้อง
ผู้มีส่วนได้เสียที่แจ้งเบาะแสหรือข้อเรียกร้องตามข้อ (1) ข้างต้นไม่ต้องเปิดเผยชื่อแต่อย่างใด
(3) การดำเนินการหลังจากมีผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อเรียกร้อง
ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการตรวจสอบข้อมูลหรือข้อเท็จจริงตามที่มีผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนตาม ข้อ (1) ข้างต้นแล้วนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบและพิจารณาโดยตรง
(4) มาตรการแก้ไขและชดเชยค่าเสียหาย
ในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิตามกฎหมาย บริษัทฯ ยินดีรับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อร้องเรียนโดยจะรีบแก้ไขข้อบกพร่องหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยทันที รวมทั้งหามาตรการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีกและจะพิจารณาชดเชยค่าเสียหายให้ผู้ถูกละเมิดอย่างเหมาะสมตามเหตุและผลของเรื่องเป็นแต่ละรายแต่ละกรณีๆ ไป
บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นทุกรูปแบบ โดยปลูกจิตสำนึกให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ทุกคนทุกระดับตระหนักถึงพิษภัยของการทุจริตคอร์รัปชั่น สร้างค่านิยมที่ถูกต้อง และเพิ่มความเชื่อมั่นต่อ ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย เพื่อพัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้คณะกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมครั้งที่ 7/2556 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2556 ได้มีมติเห็นชอบให้นำบริษัทฯ เข้าสู่กระบวนการรับรองเป็นสมาชิกโครงการแนวร่วมปฏิบัติของภาคเอกชนไทยในการต่อต้านการทุจริต (“Thailand’s Private Sector Collective Action Coalition Against Corruption” หรือ “CAC”) โดยบริษัทฯ ได้ลงนามในคำประกาศเจตนารมณ์ในการต่อด้านการทุจริตแล้วเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2557
บริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดหลัก ธรรมาภิบาล จรรยาบรรณธุรกิจ มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ใช้กลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเป็นธรรมด้วยคุณภาพที่ดีที่สุดของผลิตภัณฑ์ และการบริการ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ และกำหนดให้กรรมการผู้บริหาร พนักงาน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ มีอำนาจในการควบคุม ซึ่งรวมทั้งลูกค้า คู่ค้า เจ้าหน้าที่รัฐ ฯลฯ ปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นนี้ อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้มีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ ไม่ให้มีการเรียกรับ หรือยินยอมที่จะรับเงิน สิ่งของ หรือผลประโยชน์ใดๆ จากผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัทฯ รวมทั้งไม่ดำเนินการ หรือกระทำการใดๆ ที่เข้าข่ายดังกล่าว และไม่เรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับสินบน เพื่อประโยชน์ทั้งต่อบริษัทฯ ต่อตนเองหรือบริวาร ซึ่งกำหนดไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท และข้อบังคับของบริษัทฯ และได้ยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอดดังนี้
ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามนโยบายนี้ จะต้องได้รับโทษทางวินัย ในขณะเดียวกันบริษัทฯ ไม่มีนโยบายที่จะให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการทุจริตคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทฯ ต้องสูญเสียโอกาสทางธุรกิจก็ตาม
บริษัทฯ ได้กำหนดช่องทางการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียนมายังกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ในกรณีพบเหตุการณ์ การกระทำที่ส่อถึงการทุจริต หรือประพฤติมิชอบของบุคคล รวมถึงบริษัทฯได้กำหนดกระบวนการดำเนินการเมื่อได้รับข้อร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจ
นโยบายการต่อด้านทุจริตคอร์รัปชั่น
ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ทุกคนทุกระดับ ดำเนินการหรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยครอบคลุมถึงทุกธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจัดให้มีการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวนแนวทางปฏิบัติและข้อกำหนดในการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ระเบียบข้อบังคับและบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
หน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายว่าด้วยการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนของผู้มีส่วนได้เสียตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อให้มีกลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียดังต่อไปนี้
บริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดี โดยยึดหลัก ธรรมาภิบาล จรรยาบรรณธุรกิจ มีความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย ใช้กลยุทธ์ในการแข่งขันทางธุรกิจอย่างเป็นธรรมด้วยคุณภาพที่ดีที่สุดของผลิตภัณฑ์ และการบริการ นอกจากนี้บริษัทฯ ยังมีความมุ่งมั่นในการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบ และกำหนดให้กรรมการผู้บริหาร พนักงาน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งบริษัทฯ มีอำนาจในการควบคุม ซึ่งรวมทั้งลูกค้า คู่ค้า เจ้าหน้าที่รัฐ ฯลฯ ปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นนี้ อย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้บริษัทฯ ได้มีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ ไม่ให้มีการเรียกรับ หรือยินยอมที่จะรับเงิน สิ่งของ หรือผลประโยชน์ใดๆ จากผู้ที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัทฯ รวมทั้งไม่ดำเนินการ หรือกระทำการใดๆ ที่เข้าข่ายดังกล่าว และไม่เรียกร้อง ดำเนินการ หรือยอมรับสินบน เพื่อประโยชน์ทั้งต่อบริษัทฯ ต่อตนเองหรือบริวาร ซึ่งกำหนดไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท และข้อบังคับของบริษัทฯ และได้ยึดถือปฏิบัติมาโดยตลอดดังนี้
- กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานไม่เรียก ให้ หรือยินยอมที่จะรับเงินหรือประโยชน์อื่นใดจากผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัท
- หากพนักงานได้รับของขวัญในโอกาสตามประเพณีนิยมที่มีมูลค่าเกินปกติวิสัย จากผู้เกี่ยวข้องทางธุรกิจกับบริษัท ให้รายงานผู้บังคับบัญชาตามลำดับ
- ดำเนินธุรกิจและการแข่งขันด้วยกลยุทธ์ที่ชอบธรรม และไม่รับสิ่งของ หรือเงินจากลูกค้า หรือคู่ค้า เพราะจะทำให้เกิดความขัดแย้งในการปฏิบัติหน้าที่
- ไม่ให้ของขวัญหรือของกำนัลที่มีค่าทั้งทางตรง และทางอ้อมแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ เว้นแต่เป็นการมอบให้ตามเทศกาลประเพณีนิยม เช่นเดียวกับการมอบให้แก่ลูกค้าของบริษัทฯ
ทั้งนี้ หากไม่ปฏิบัติตามนโยบายนี้ จะต้องได้รับโทษทางวินัย ในขณะเดียวกันบริษัทฯ ไม่มีนโยบายที่จะให้ผลทางลบต่อพนักงานที่ปฏิเสธการทุจริตคอร์รัปชั่น แม้ว่าการกระทำนั้นจะทำให้บริษัทฯ ต้องสูญเสียโอกาสทางธุรกิจก็ตาม
บริษัทฯ ได้กำหนดช่องทางการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียนมายังกรรมการตรวจสอบของบริษัทฯ ในกรณีพบเหตุการณ์ การกระทำที่ส่อถึงการทุจริต หรือประพฤติมิชอบของบุคคล รวมถึงบริษัทฯได้กำหนดกระบวนการดำเนินการเมื่อได้รับข้อร้องเรียน และมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนไว้ในจรรยาบรรณธุรกิจ
นโยบายการต่อด้านทุจริตคอร์รัปชั่น
ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ทุกคนทุกระดับ ดำเนินการหรือยอมรับการทุจริตคอร์รัปชั่นในทุกรูปแบบทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยครอบคลุมถึงทุกธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยจัดให้มีการตรวจสอบหรือสอบทานการปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างสม่ำเสมอ ตลอดจนทบทวนแนวทางปฏิบัติและข้อกำหนดในการดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ระเบียบข้อบังคับและบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
- กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติตามนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นและจรรยาบรรณทางธุรกิจโดยไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อม
- พนักงานของบริษัทฯทุกคนทุกระดับไม่พึงละเลยหรือเพิกเฉยเมื่อพบเห็นการกระทำที่เข้าข่ายการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหรือบุคคลที่รับผิดชอบทราบ และให้ความร่วมมือในการตรวจสอบข้อเท็จจริงต่างๆ หากมีข้อสงสัยให้ ปรึกษาหารือผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่บริษัทฯ กำหนดให้ทำหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจผ่านช่องทางต่างๆ ที่กำหนดไว้
- บริษัทฯ จะให้ความเป็นธรรมและคุ้มครองพนักงานที่แจ้งเรื่องการทุจริตคอร์รัปชั่นที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ โดยใช้มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน หรือผู้ที่ให้ความร่วมมือในการรายงานการทุจริตคอร์รัปชั่นตามที่บริษัทฯ กำหนดไว้ในนโยบายว่าด้วยการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียนของผู้มีส่วนได้เสีย
- ผู้ที่กระทำทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นการกระทำผิดจรรยาบรรณทางธุรกิจซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาโทษทางวินัยตามระเบียบที่บริษัทฯ กำหนดไว้ นอกจากนี้อาจจะได้รับโทษตามกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
- บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการเผยแพร่ให้ความรู้ และทำความเข้าใจกับบุคคลอื่นที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ในเรื่องที่ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามนโยบายว่าด้วยการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น
- การดำเนินการในเรื่องที่มีความเสี่ยงสูงกับการทุจริตคอร์รัปชั่น กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของบริษัทฯ ทุกคนทุกระดับจะต้องปฏิบัติด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะในเรื่องดังต่อไปนี้
- การรับหรือการให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด ให้เป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด
- การรับหรือให้เงินบริจาคหรือเงินสนับสนุนต้องเป็นไปอย่างโปร่งใสและถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมั่นใจว่าเงินบริจาค หรือเงินสนับสนุนไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อเป็นข้ออ้างในการติดสินบน
- ห้ามรับหรือให้สินบนในการดำเนินธุรกิจทุกชนิด การดำเนินงานของบริษัทฯและการติดต่องานกับภาครัฐจะต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์สุจริต และต้องดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดโดยเคร่งครัด
หน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
- คณะกรรมการบริษัทฯ มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายและการกำกับดูแลให้มีระบบที่สนับสนุนการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผล เพื่อสร้างความมั่นใจให้ฝ่ายบริหารได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการต่อต้านคอร์รัปชั่นและปลูกฝังจนเป็นวัฒนธรรมองค์กร
- คณะกรรมการตรวจสอบมีหน้าที่และความรับผิดชอบในการสอบทานระบบงานทางบัญชีและการเงิน ระบบควบคุมภายใน ระบบตรวจสอบภายใน และระบบบริหารความเสี่ยงให้มั่นใจว่าเป็นไปตามมาตรฐานสากล มีความรัดกุมเหมาะสมเพียงพอและมีประสิทธิภาพประสิทธิผล
- คณะกรรมการบริหาร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้บริหารทุกระดับมีหน้าที่และรับผิดชอบในการกำหนดให้มีระบบและส่งเสริมสนับสนุนนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น เพื่อสื่อสารไปยังพนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานรวมทั้งทบทวนความเหมาะสมของระบบและมาตรการต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจ ระเบียบข้อบังคับและบทบัญญัติของกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
- สำนักตรวจสอบมีหน้าที่และรับผิดชอบในการตรวจสอบและสอบทานการปฏิบัติงานว่าเป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงตาม นโยบาย แนวปฏิบัติ ระเบียบคำสั่งในการปฏิบัติงานและอำนาจอนุมัติตลอดจนบทบัญญัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้มั่นใจว่ามีระบบการควบคุมที่มีความเหมาะสมเพียงพอต่อความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่อาจจะเกิดขึ้น โดยให้รายงานต่อคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง
- คณะกรรมการบริหารความเสี่ยงมีหน้าที่ประเมินความเสี่ยงด้านการทุจริตคอร์รัปชั่นที่อาจจะเกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเสนอแนวทางแก้ไขที่เหมาะสมเพื่อนำเสนอหรือรายงานต่อคณะกรรมการบริหารและหรือคณะกรรมการบริษัทฯ เพื่อพิจารณาทบทวนและกำหนดมาตรการต่างๆให้สอดคล้องกันเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นดังกล่าว
การแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้กำหนดนโยบายว่าด้วยการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนของผู้มีส่วนได้เสียตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีเพื่อให้มีกลไกการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียดังต่อไปนี้
- การเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
ผู้มีส่วนได้เสียคนใดมีความประสงค์จะติดต่อกับคณะกรรมการบริษัทฯ โดยตรง โดยไม่ผ่านผู้บริหารของบริษัทฯ เพื่อแสดงความคิดเห็นต่างๆ เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจรวมทั้งการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนต่างๆ เช่น การปฏิบัติงานที่ไม่ถูกต้องหรือมีข้อบกพร่อง การ กระทำผิดกฎหมายหรือจรรยาบรรณ หรือการทุจริตคอร์รัปชั่น เป็นต้น โดยให้แจ้งเบาะแสหรือส่งข้อร้องเรียนไปยังคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง ดังต่อไปนี้- ส่งทางไปรษณีย์มาที่
ประธานกรรมการตรวจสอบ
41/9 ถนนริมคลองบางสะแก แขวงบางค้อ
เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร 10150 - ส่งทาง E-Mail Address : wanna@lannar.com
- ส่งทางไปรษณีย์มาที่
- การคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อเรียกร้อง
ผู้มีส่วนได้เสียที่แจ้งเบาะแสหรือข้อเรียกร้องตามข้อ 1. ข้างต้นไม่ต้องเปิดเผยชื่อแต่อย่างใด - การดำเนินการหลังจากมีผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อเรียกร้อง
ให้คณะกรรมการตรวจสอบดำเนินการตรวจสอบข้อมูลหรือข้อเท็จจริงตามที่มีผู้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนตามข้อ 1. ข้างต้นแล้วนำเสนอให้คณะกรรมการบริษัทฯ รับทราบและพิจารณาโดยตรง - มาตรการแก้ไขและชดเชยค่าเสียหาย
ในกรณีที่ผู้มีส่วนได้เสียได้รับความเสียหายจากการละเมิดสิทธิตามกฎหมาย บริษัทฯยินดีรับฟังข้อคิดเห็นหรือข้อร้องเรียนโดยจะรีบแก้ไขข้อบกพร่องหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยทันที รวมทั้งหามาตรการป้องกันมิให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นอีกและจะพิจารณาชด เชยค่าเสียหายให้ผู้ถูกละเมิดอย่างเหมาะสมตามเหตุและผลของเรื่องเป็นแต่ละรายแต่ละกรณีๆ ไป
คณะกรรมการบริษัทฯ ได้แต่งตั้งนายสหรัฐ วัฒนธรรมรักษ์ เป็นเลขานุการบริษัทฯ โดยกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของเลขานุการบริษัทฯ ไว้ดังต่อไปนี้
- ให้คำแนะนำเบื้องต้นแก่กรรมการเกี่ยวกับข้อกำหนด กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของบริษัทฯ และติดตามให้มีการปฏิบัติอย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ รวมถึงรายงานการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยสำคัญแก่กรรมการ
- จัดประชุมผู้ถือหุ้นและประชุมคณะกรรมการให้เป็นไปตามกฎหมายและข้อบังคับของบริษัทฯ ตลอดจนข้อพึงปฏิบัติต่างๆ ของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง
- บันทึกรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น และการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ รวมทั้งติดตามให้มีการปฏิบัติตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้นและมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ
- ดูแลให้การเปิดเผยข้อมูลและรายงานสนเทศในส่วนที่รับผิดชอบตามระเบียบและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
- จัดทำและเก็บรักษาเอกสารดังต่อไปนี้
(5.1) ทะเบียนกรรมการ
(5.2) หนังสือนัดประชุมคณะกรรมการและรายงานการประชุมคณะกรรมการ
(5.3) หนังสือนัดประชุมผู้ถือหุ้นและรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น
(5.4) รายงานประจำปีของบริษัทฯ
- เก็บรักษารายงานการมีส่วนได้เสียที่กรรมการและผู้บริหารรายงานต่อบริษัทฯ
- ดูแลกิจกรรมของคณะกรรมการและดำเนินการเรื่องอื่นๆ ตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทฯ